ในทุกปี หลายพื้นที่ในประเทศของเราต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งความรุนแรงในแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันไป เพื่อช่วยลดความเสียหายให้น้อยที่สุด เราจึงต้องเตรียมการรับมืออย่างเหมาะสม
การเตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วมและดูแลหลังน้ำท่วม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. ก่อนน้ำท่วม: การเตรียมความพร้อม
1.1 สอบถามข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานที่ดูแลด้านน้ำท่วม เช่น สถานการณ์น้ำที่จะส่งผลกระทบ, ระยะเวลาที่น้ำจะมาถึง, และเส้นทางถนนที่อาจถูกน้ำท่วม พร้อมติดตามข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนรับมือได้ทันเวลา
1.2 จัดเตรียมเบอร์ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานราชการ, เทศบาล, โรงพยาบาล, และมูลนิธิกู้ภัย เพื่อให้สามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
1.3 แจ้งแผนรับมือน้ำท่วมและข้อมูลสำคัญให้คนในครอบครัวหรือพนักงานทราบ เพื่อช่วยกันป้องกันและรักษาความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า และงดการเล่นน้ำในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม
1.4 เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงหรือให้พ้นจากระดับน้ำท่วม ทั้งที่บ้านและที่ออฟฟิศ เช่น เอกสารสำคัญ ชุดคอมพิวเตอร์ สายไฟ และอุปกรณ์อื่น ๆ รถโฟล์คลิฟต์หรือรถของสาขา ควรย้ายไปจอดในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือบริเวณที่สูงที่สุดภายในสาขา ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถโดนน้ำได้ เช่น ปูนกาวและกาวยาแนว ควรจัดเก็บให้สูงขึ้น โดยการซ้อนบนไม้พาเลทเพื่อป้องกันความเสียหาย
1.5 ปิดแก๊ส ตัดกระแสไฟฟ้า และปิดปลั๊กไฟด้วยเทปกาว เพื่อป้องกันการรั่วไหลและลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดูด
1.6 เตรียมกระสอบทรายหรืออุปกรณ์กั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้านหรือออฟฟิศ และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การตัดกระแสไฟฟ้าในสาขา เนื่องจากบางสาขาอาจมีทั้ง 2 ระบบ ต้องโยกลงทั้ง 2 โดยจะอยู่ในตู้คอนโทรลที่สาขา
1. เมนเบรกเกอร์ของตู้โซล่าเซลล์และตู้ไฟฟ้า ต้องทำการโยกลงเพื่อป้องกันความเสียหาย